ชาวตำบลสวนพริกตั้งเสาตะลุงจำลองไว้เป็นอนุสรณ์แสดงภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
วันที่ 23 มิ.ย. ที่เพนียดคล้องช้าง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนคศรีอยุธยา ชาวบ้านในตำบลสวนพริกและชาว จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยช้าง 4 เชือก ได้ช่วยกันยกเสาเอกตะลุงแบบเม็ดทรงมัณฑ์ ตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่รักษาเนื้อไม่ไม่ให้ผุกร่อนได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นการแสดงจุดยืนที่ชาวบ้านในตำบลสวนพริก และพี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา เรียกร้องให้กรมศิลปากรคืนหัวเสาตะลุงให้เพนียดคล้องช้าง เหมือนเดิมหลังจากมีการบูรณะแล้วตัดหัวเสาที่เป็นส่วนของปีกกาทิ้งทั้งหมดกว่า 500 ต้น
โดยกลุ่มชาวบ้านได้ช่วยกันทำเสาตะลุงแบบมีหัว จำนวน 2 ต้น ที่ชาวบ้าน ชาว จ.พระนครศรีอยุธยา นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเห็นหัวเสาตะลุงแบบมีหัว และพร้อมใจกันยกขึ้นตั้งในวันนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ของเสาตะลุงให้ลูกหลานได้เห็นว่าแต่เดิมที่ปูย่าตายายเห็นมาเป็นรูปแบบนี้ ไม่อย่างให้เด็กรุ่นหลังต้องมาจดจำเสาตะลุงแบบไม่มีหัว เสาตะลุงที่มีหัวเป็นภูมิปัญญา เป็นกุศโรบายของบรรพบุรุษที่เคยสั่งสอนไว้ว่าหากจะใช้ไม้ทำรั่วบ้านให้คงทนก็ต้องทำหัวเสาให้แหลมหรือทรงมนเพื่อน้ำจะไม่ไหลซึมเข้าไปในตัวไม้ทำให้ผุกร่อนได้เร็ว
ต่อมานายเกื้อกูล ด่านขัยวิจิตร สส.เขต 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางมา เพื่อรับฟังปัญหา รับฟังความคิดเห็นของชาวตำบลสวนพริก ที่เรียกร้องหัวเสาตะลุง เพื่อหาทางออกร่วมกันทางออก ทั้งการเรียกร้องหัวเสาตะลุง และเรื่องของการไล่ช้างออกจากเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
โดยตัวแทนชาวตำบลสวนพริกได้ยื่นเรื่องการถวงถามเรื่องหัวเสาตะลุง จากกรมศิลปากร และนายลายทองเหรียญ ได้ยื่นหนังสือเรื่องของการ ที่กรมศิลปากร ให้วังช้างอยุธยา แลเพนียดออกจากพื้นที่ ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นายเกื้อกูล กล่าวว่า จะนำข้อเรียกร้อง ความคิดเห็นของชาวบ้าน ไปพุดคุยกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในส่วนของเสาตะลุงแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านมีความรักหวงแหน โบราณสถานที่อยู่ในชุมชน ชาวบ้านมีความผูกพันศรัทธาเมื่อมีการเปลี่ยนผิดไปจากเดิมชาวบ้านจึงต้องออกมาทวงถามหาความจริง
ส่วนเรื่องของวังช้างอยุธยา แลเพนียด ที่ช้างจะต้องถูกย้ายให้ออกไปจากพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งช้างอยู่อยู่มานานกว่า20 ปี เป็นภาพลักษณ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอยุธยา สร้างชื่อเสียงให้อยุธยา การเลี้ยงดูช้างของวังช้างอยุธยา ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการเลี้ยงการฝึกช้าง ขยายพันธ์ช้าง ซึ่งน่าจะมีทางออกที่ดีหากได้มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออก