ข่าวอยุธยา | khaoayutthaya.com | ข่าว | อยุธยา | พระนครศรีอยุธยา | ข่าวด่วน | ข่าวอุบัติเหตุอยุธยา | ข่าวอาชญากรรมอยุธยา | วัดป้อมแก้ว | หลวงพ่อเพิ่ม

นฤมล-ธรรมนัส ลุยตรวจสถานการณ์น้ำท่วมอยุธยา เร่งระบายน้ำเข้าทุ่ง มั่นกรุงเทพฯน้ำไม่ท่วมเหมือนปี 54

 

วันที่ 5 ตุลาคม ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัครา พรหมเผ่า, นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับฟังแนวทางการป้องกันน้ำท่วมโบราณสถาน พื้นที่เศรษฐกิจ การจัดการน้ำ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริเวณวัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา

นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า อยุธยา มีโบราณสถาน ทั้งที่อยู่ในพื้นที่เกาะเมืองและนอกเกาะเมือง ปัจจุบันแนวบังเกอร์ป้องกันน้ำท่วม ยังสามารถรองรับระดับน้ำ 2.50 เมตร จากการประเมินสถานการณ์หากระบายน้ำมาไม่เกิน 2,700 ลบ.ม./ต่อวินาที คาดว่าน่าจะปลอดภัย…

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์ที่เชียงใหม่ตอนนี้ ระดับน้ำทรงตัว แต่ที่ยังน่าห่วงเวลานี้คือลุ่มน้ำยม ที่ตอนนี้ยังคงผันเข้าทุ่งบางระกำจำนวนมาก และมวลน้ำยมจะมาร่วมกับน้ำน่านที่ อ.ชุมแสง น้ำน่านมารวมน้ำปิงที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ 2,300 ลบ.ม./ต่อวินาที และตั้งแต่บ่ายวันนี้จะทยอยปรับระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มเป็นไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./ต่อวินาที

ส่วนดัชนีชี้วัดของ กทม. ดูที่สถานีบางไทร ซึ่งเวลานี้ยังรับน้ำได้อีก 30% หากไม่เกิน 3,500 ลบ.ม./ต่อวินาที กรุงเทพจะปลอดภัย ยกเว้นมีพายุใหญ่เข้ามา

ส่วน ในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีทุ่งรับน้ำ จำนวน 7 ทุ่ง 700,000กว่าไร่ รับน้ำได้ประมาณ 700ล้าน ลูกบาศก์เมตร มีการทยอมผันน้ำเข้าทุ่งไปบางแล้ว การระบายน้ำเข้าทุ่งจะต้องค่อยๆระบายเข้าไป ไม่ให้ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในทุ่งนารับน้ำ รวมถึงถนนทางเข้าชุมชม ถนนในและถนนสายหลัก

ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า จากที่ได้รับฟังสรุปสถานการณ์ในขณะนี้ น้ำจะไม่ท่วมกรุงเทพมหานครเหมือนในปี 2554 แน่นอน เนื่องด้วยปริมาณน้ำและน้ำที่ยังเก็บกักได้เพิ่ม อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ได้ประสานกับกรมชลประทานตลอด เพื่อเตรียมแผนระบายน้ำหากมีพายุและปริมาณน้ำฝนลงมาเพิ่ม




คุณอาจสนใจข่าวนี้

error: เนื้อหา และภาพข่าวมีลิขสิทธิ์ห้ามนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติ