ข่าวอยุธยา | khaoayutthaya.com | ข่าว | อยุธยา | พระนครศรีอยุธยา | ข่าวด่วน | ข่าวอุบัติเหตุอยุธยา | ข่าวอาชญากรรมอยุธยา | วัดป้อมแก้ว | หลวงพ่อเพิ่ม

เร่งซ่อมถนนทรุดตัวเมืองกรุงเก่า บรรเทาความเดือดร้อน ปชช. ให้สัญจรผ่านได้

เร่งซ่อมถนนทรุด

จากกรณีถนนทางหลวงชนบท หมายเลข อย.3020 บ้านรุน-บ้านพลับ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 6 ใกล้กับ อบต.บ้านแป้ง หมู่ 1 ต.บ้านแป้ง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ถนนยางแอสฟัลต์ หรือ ยางมะตอย ขนาดความกว้าง 8 เมตร พื้นผิวของถนนทรุดตัวเป็นระยะทางยาวประมาณ 30 เมตร จนถึงสะพานข้ามคลองชลประทาน จุดที่ถนนทรุดตัวลึกประมาณ 3-5 เมตร จนมองเห็นชั้นดิน ส่วนภายในคลองที่เลียบกับถนนที่ทรุดตัวพบว่าน้ำในคลองแห้ง มองเห็นชั้นดินโคลนดันนูนสูงขึ้นมา ต้องปิดถนนห้ามรถยนต์ทุกชิดผ่าน โดยให้ใช้เส้นทางเลี่ยงเข้าภายในหมู่บ้านแทน

30 พฤษภาคม 2566 ความคืบหน้าล่าสุด นายสุรินทร์ ขักขะโร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา นาย สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ว่าที่ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 4 พร้อมด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จากชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าตรวจสอบถนน พร้อมกับนำรถแบคโฮ ทำการปรับพื้นผิวถนน ทำการบดอัด ปรับพื้นผิวถนนที่เกิดการทรุดตัว ให้ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราว พร้อมกับติดตั้งสัญญาเตือนให้ระมัดระวังการใช้เส้นทาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

นายสุรินทร์ ขักขะโร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า จากเดิมถนนเส้นนี้จะใช้เป็นคันกันน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมเป็นความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ส่วนพื้นผิวถนนทางทางหลวงชนบท ได้ขอรับผิดชอบในการปรับพื้นผิวถนนเพื่อใช้ในการสัญจร ซึ่งเราได้มีการปรับปรุงพื้นผิวถนนและความนั่งคงแข็งแรงของถนน สาเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากระดับน้ำที่อยู่ในคลองเลียบกับถนน ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีน้ำในการพยุงดันตัวคันดินของถนน ทำให้ดินเกิดการสไลด์ของดินลงไป การสไลด์ตัวของถนนแบบนี้ ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะเกิดขึ้นบ่อย ถนนจะอยู่เลียบกับกับแนวคันนคลองเสียส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีรถบรรทุกเป็นตัวเร่ง แรงกดทำให้ถนนทรุดตัว เราต้องมาควบคุมกฎหมายไม่ให้รถบรรทุกน้ำหนักเกินมาวิ่ง

ด้าน นาย สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ว่าที่ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 4 เปิดเผยว่า ถนนเส้นนี้เป็นความรับผิดชอบของ 2 หน่วยงาน ตัวโครงสร้างของถนนเป็นของกรมชลประทาน ส่วนพื้นผิวการจราจร เป็นของทางหลวงชนบท ตรงจุดเกิดเหตุเป็นช่วงคอสะพาน ที่เกิดการทรุดตัว มาจากระดับน้ำลดลงอย่างรวมเร็ว ประกอบกับมีรถบรรทุกวิ่งจำนวนมาก จนทำให้เกิดการทรุดตัว ในหลักวิศวกรรม การแก้ปัญหาตอนนี้ ทางกรมชลประทานได้นำเครื่องจักรมาซ่อมทางชั่วคราวเพื่อให้พี่น้องสัญจรไปมาได้ก่อน

ส่วนจุดที่เกิดการทรุดตัวไม่ได้มีการปรับพื้นผิวถนนเสริมความแข็งแรง เนื่องจาก ยังติดอยู่ในส่วนสัญญาค้ำประกันผู้รับจ้างกับทางกรมชลประทาน มาแล้วประมาณ 2 ปี และจะหมดสัญญาในวันที่ 17 กันยายน 2566 ทำให้จุดนี้กรมทางหลวงชนบท ไม่สามารถทำการปรับปรุงเสริมความแข็งแรงของถนนได้ จึงต้องมีการประสาน เรียกคู่สัญญามาพูดคุยเพื่อทำการซ่อมแซม ต่อไป




คุณอาจสนใจข่าวนี้

error: เนื้อหา และภาพข่าวมีลิขสิทธิ์ห้ามนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติ