วัฒนธรรมจังหวัดภาคกลาง แถลงข่าว จัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชน ยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
วันที่ 28 ธันวาคม ที่โบราณสถานวัดพระราม ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นางนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รอง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี และจังหวัดชัยนาท ร่วมกันแถลงข่าว การจัดกิจกรรม มหกรรมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนท้องถิ่น
การจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววิ๔ชุมชนที่สำคัญของแต่ละจังหวัดในภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด ให้แพร่หลาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทาง ไปเที่ยวชมวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และแหล่งท่องท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอันงดงาม ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน
โดยจะเริ่มที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 1-6 มกราคม 2565 บริเวณลานหน้าวิหารพระมงคลบพิตรกิจกรรมในงานจะเป็นการแสดงนิทรรศการรุกขมรดกของแผ่นดิน การเสวนา ยืนต้นกับคนรักษ์วัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคกลาง การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น การจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมจากกลุ่มภาคกลางตอนบน
นอกจากนี้ยังมีการ จัดกิจกรรม Road shoe มหกรรมท่องเที่ยว ยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง ใน 2 ภาค คือที่ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7-9 มกราคม 2565 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอตร์ต
และ จัดกิจกรรม Road shoe มหกรรมท่องเที่ยว ยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง ที่จังหวัดสงขลา ในวันที่ 14-16 มกราคม 2565 ที่เซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่
กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วยการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ของภาคกลางตอนบนทั้ง 6 จังหวัด ให้เป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เพื่อฟื้นฟูและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นการต่อยอดโครงการต้นไม้ที่ทรงคุณค่า “รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี” ของกระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้ดำเนินการสืบค้น และรวบรวมข้อมูลต้นไม้ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น เช่น กลุ่มต้นพุทราโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ต้นยางนาคู่ ชุมชนบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง ต้นจันหลายแผ่นดิน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย