ชาวบ้านอยุธยาโวยกรมเจ้าท่าให้เปลี่ยนรูปแบบก่อสร้างเขื่อนขัดวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำ
วันที่ 24 มิถุนายน ที่ศาลาการเปรียญวัดป่าโค อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา นายปรเมธี เดชปะตังเวสา วิศกรโยธาปฏิบัติการกองวิศวกรรม กรมเจ้าท่า พร้อมด้วยชาวบ้าน ร่วมกันประชุมรับฟังความคิดเห็น ในการก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทางเรือเดินในแม่น้ำป่าสัก งบประมาณ 500กว่าล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กรมเจ้าท่า และกระทรวงคมนาคม
โดยที่ผ่านมาชาวบ้านคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการก่อสร้างของเขื่อน โดยใช้แผ่น ชีทไพล์ (Sheet Pile Wall) ตอกกดลงไปตามแนวริมตลิ่งและมีการก่อสร้างแนวสันเขื่อน น้ำสูงจากพื้นดินปัจจุบันประมาณ 3 เมตร ซึ่งรูปของการก่อสร้างส่งผลกระทบกับวิถีชีวิต ชาวบ้านและบดบังทัศนียภาพ ริมแม่น้ำป่าสัก ทางขึ้นลงตลิ่งมีน้อย จากชาวบ้านจะจอดเรือไว้ท่าน้าหน้าบ้าน หรือลงไปใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค หรือลงไปจับสัตว์น้ำ ไม่สะดวก การก่อสร้างเขื่อน ในรูปแบบนี้จะเป็นการสนับ อำนวยความสะดวก ให้กับการเดินเรือบรรทุกสินค้ามากกว่า ชาวบ้านอยากให้เขื่อนเป็นรูปแบบของ ตอกเข็มด้วยปูน หรือเป็นแนวทางลาด ปูน ให้ชาวบ้านได้ใช้วิถีชีวิตแบบดังเดิมได้
ว่า ร.ต.สมทรง กล่าวว่า การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนของ กรมเจ้าท่า และกระทรวงคมนาคม ซึ่งที่ผ่านการออกแบบ ไม่ได้การทำความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนบางส่วนได้มีการลงมือก่อสร้างไปแล้ว และไมได้แจ้งให้ทางเทศบาล ทราบ พอชาวบ้านเห็นรูปแบบการก่อสร้าง ซึ่ง สร้างผลกระทบกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังต้องใช้อาศัยแม่น้ำป่าสักในการดำรงชีวิต ตนจึงได้ให้มีการมาทำความเข้าใจรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน จริงๆชาวบ้านดีใจที่ได้มีเขื่อนป้องกันตลิ่งทรุดตัว และป้องกันน้ำท่วม แต่จากรูปแบบ ของเขื่อน ที่ใช้ แผ่น ชีทไพล์ ซึ่งเป็นแผ่นเหล็ก
ตอกลงไปตลอดแนวของตลิ่ง ทำเป็นเขื่อน เกรงว่าในอนาคตจะเป็นสนิมไม่มีความมั่นคง บดบังทัศนียภาพ ของชาวบ้าน การขึ้นลงจากบ้านของชาวบ้านไปยังแม่น้ำป่าสักของชาวบ้าน เพื่อประกอบอาชีพประมง ใช้ในการอุปโภคบริโภค ไม่สะดวก
หลังการประชุมทำความเข้าใจ รับฟังปัญหาของชาวบ้าน โดยชาวบ้านยืนยันคัดการก่อสร้างเขื่อนตามที่มีการออกแบบ ขอปรับเปลี่ยนรูปแบของเขื่อนทั้งหมด
ทางด้าน นายปรเมธี เดชปะตังเวสา วิศกรโยธาปฏิบัติการกองวิศวกรรม ได้รับฟังปัญหาและข้อเรียกร้อง ของชาวบ้าน ไปนำเสนอกับทางกรมเจ้าท่าพิจารณาต่อไป