เทศบาลตำบลนครหลวงลงนามสัญญาให้บริษัทเอกชนผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย
นายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาให้สิทธิ์เอกชนดำเนินโครงการบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยและผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยของเทศบาลนครหลวง โดยมีนายบุญส่ง กลิ่นสวาทหอม นายกเทศบาลตำบลนครหลวง ผู้บริหาร บริษัท พาโนว่า จำกัด และตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น จาก 8 อำเภอ ร่วมลงนาม
นายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในหกจังหวัดที่ประสบปัญหาวิกฤตเรื่องขยะ มีบ่อขยะที่สร้างผลกระทบกับประชาชนมาโดยตลอด
เช่น ไฟไหม้บ่อขยะ ปัญหาน้ำเสียจากบ่อขยะ กระทรวงมหาดไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำจัดขยะและให้เป็นวาระแห่งชาติในการดำเนินการกำจัดขยะ ได้มอบหมายให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเทศบาลตำบลนครหลวง แก้ไขปัญหาดังกล่าว จนกระทั่งได้มีพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ซึ่งใช้เวลานานหลายปี จึงจะมาถึงวันนี้นี้ได้เพราะต้องสร้างความ ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการในการกำจัดขยะเป็นหลักประกัน เรื่องของกำจัดขยะที่ยังยืนถาวรเป็นระบบ แต่การแก้ไขปัญหาจะต้องเริ่มที่ต้นทางด้วยคือขยะจากบ้านเรือน จากชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้อง มีการคัดแยกขยะ ที่สามารถนำกลับมาทำประโยชน์ มารีไซเคิล สร้างรายได้ให้ชาวบ้านให้ชุมชนส่วนขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้จึงนำไปสู่โรงงานกำจัดขยะผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการกำจัดงบประมาณของทาง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
นายบุญส่ง กลิ่นสวาทหอม นายกเทศบาลตำบลนครหลวง กล่าวว่า สิ่งที่จะได้รับจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย คือการส่งเสริมให้อำเภอนครหลวงและพื้นที่ใกล้เคียง มีระบบการกำจัดขยะโดยใช้ระบบกระบวนการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มีการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง รวมถึงสร้างรูปแบบการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยที่รักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
ด้านตัวแทนของบริษัท พาโนว่า จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทขอให้คำมั่นสัญญา จะดำเนินการตั้งแต่การก่อสร้างโรงาน และหลังการก่อสร้าง ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุดแต่เกิดผลประโยชน์กับชาวอำเภอนครหลวงและใกล้เคียงมากที่สุด โดยสภาพในปัจจุบัน บ่อขยะของอำเภอนครหลวง มีพื้นที่ 39 ไร่ รับขยะจาก8 อำเภอ มีขยะตกค้าง20,000 ตัน ยังไมได้ฝังกลบ ทางบริษัทได้จัดซื้อที่ดินบริเวณโดยรอบเพิ่มเติมอีกประมาณ 30 กว่าไร่ เพื่อเสร้างโรงงานจำกัดขยะผลิตไฟฟ้าแบบระบบปิดทุกขันตอน จะสามารถผลติตกระแสไฟฟ้าได้9.90เมกะวัตต์ ขายให้กับการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และให้เทศบาลนครหลวงนำกลับไปใช้ส่วนหนึ่ง ทางบริษัทได้มีการทำประชาพิจารณ์ร่วมกับชาวบ้าน ในรัศมี30กิโลเมตร มีประชาชนชนที่เห็นด้วย80-90เปอร์เซ็นต์ มีบางส่วนที่ไม่เข้าใจ ได้ลงพื้นที่ทำพบปะให้ความรู้ความเข้าใจ ผลตอบรับที่ดีขึ้น หลังจากการทำสัญญาในวันนี้ ทางโครงการจะตั้งคณะกรรมการจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท และตัวแทนจากชุมชน ตรวจสอบการดำเนินการก่อสร้างทุกขันตอนของการก่อสร้างที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา